กลไกการทำงานของ TEP

กลไกการทำงานของ TEP

เนื่องจาก TEP เป็นองค์กรเครือข่ายขนาดใหญ่ (Network organization) ซึ่งประกอบด้วยองค์กรทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้มีคล่องตัว จึงได้ออกแบบกลไกการทำงานเป็น 4 ส่วน และมีบทบาทดังนี้ 

  1. คณะกรรมการอำนวยการ (TEP Board) ทำหน้าที่วางทิศทางการปฏิรูปการศึกษา มีกรรมการจำนวน 21 คน โดยมี ท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน 
  2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์และขับเคลื่อน (TEP Steering Committee) ทำหน้าที่กำหนดแผนยุทธศาสตร์ ประสานเครือข่ายการขับเคลื่อนระดับประเทศ กำกับทิศทางคณะทำงานประสานงานกลาง มีกรรมการจำนวน 9 คน โดยมี นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ เป็นประธาน 
  3. TEP Think Tank เป็นตัวแทนของผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มาจากหน่วยงานองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ทำหน้าที่เป็นถังความคิด ให้คำแนะนำ และผลักดันการขับเคลื่อนตามนโยบายให้ประสบความสำเร็จ 
  4. เครือข่ายหลัก 7 เครือข่าย (TEP Network) คือ กลุ่มภาคีเพื่อการศึกษาไทยที่ขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลง 7 ด้านสำคัญ มีดังนี้
    1. ระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    2. การพัฒนาเด็กและเยาวชน
    3. การสนับสนุนบทบาทหน้าที่พ่อแม่ผู้ปกครอง
    4. ระบบผลิตและพัฒนาครู
    5. ระบบการจัดการศึกษาในโรงเรียน (Whole-school development)
    6. ระบบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-Based Education)
    7. การสร้างพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) 
  5. คณะทำงานประสานงานกลาง และ ทีมสื่อสาร ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงานของ TEP ให้บรรลุพันธกิจ

กลไกการทำงานของ TEP

เนื่องจาก TEP เป็นองค์กรเครือข่ายขนาดใหญ่ (Network organization) ซึ่งประกอบด้วยองค์กรทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้มีคล่องตัว จึงได้ออกแบบกลไกการทำงานเป็น 4 ส่วน และมีบทบาทดังนี้ 

  1. คณะกรรมการอำนวยการ (TEP Board) ทำหน้าที่วางทิศทางการปฏิรูปการศึกษา มีกรรมการจำนวน 21 คน โดยมี ท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน 
  2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์และขับเคลื่อน (TEP Steering Committee) ทำหน้าที่กำหนดแผนยุทธศาสตร์ ประสานเครือข่ายการขับเคลื่อนระดับประเทศ กำกับทิศทางคณะทำงานประสานงานกลาง มีกรรมการจำนวน 9 คน โดยมี นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ เป็นประธาน 
  3. TEP Think Tank เป็นตัวแทนของผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มาจากหน่วยงานองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ทำหน้าที่เป็นถังความคิด ให้คำแนะนำ และผลักดันการขับเคลื่อนตามนโยบายให้ประสบความสำเร็จ 
  4. เครือข่ายหลัก 7 เครือข่าย (TEP Network) คือ กลุ่มภาคีเพื่อการศึกษาไทยที่ขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลง 7 ด้านสำคัญ มีดังนี้
    1. ระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    2. การพัฒนาเด็กและเยาวชน
    3. การสนับสนุนบทบาทหน้าที่พ่อแม่ผู้ปกครอง
    4. ระบบผลิตและพัฒนาครู
    5. ระบบการจัดการศึกษาในโรงเรียน (Whole-school development)
    6. ระบบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-Based Education)
    7. การสร้างพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) 
  5. คณะทำงานประสานงานกลาง และ ทีมสื่อสาร ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงานของ TEP ให้บรรลุพันธกิจ
Scroll to Top